หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า ไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ กันบ่อยๆ โดยเฉพาะข่าวล่าสุดจากสโมสรเอฟเวอร์ตันที่โดนตัด 10 คะแนนไปอย่างหน้าตาเฉย เพราะละเมิดกฎการเงินนั่นเอง ซึ่งวันนี้ KUBET จะพาไปดูว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร? และมีกฎหลักอะไรกันบ้าง?
ไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ คืออะไร?
UEFA Financial Fair Play Regulations (FFP) คือ กฎที่ถูกสร้างขึ้นมาในเดือนกันยายนปี 2009 เพื่อใช้ในการตรวจสอบยอดเงินของสโมสรฟุตบอล ไม่ให้ทุ่มเงินจนเกินตัวที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่สโมสรจะเป็นหนี้ก้อนโตและอาจล้มละลายก็เป็นได้ โดยในช่วงปีนั้นมีการเทคโอเวอร์สโมสรมากมายโดยกลุ่มนักเศรษฐี ซึ่งบุคคลเหล่านี้ใช้เงินจนเกินตัว สร้างหนี้จำนวนมากให้กับสโมสร จน UEFA ต้องเข้ามาเป็นตัวกลาง แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
โดยในความจริงแล้วนั้น กฎไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ ถูกต่อต้านอย่างมากจากสโมสรฟุตบอลในอังกฤษ อิตาลี และสเปน เพราะพวกเขามองว่าการใช้เงินเกินตัวของสโมสรฟุตบอล คือเรื่องธรรมชาติในการทำทีมฟุตบอล อย่างไรก็ตาม สโมสรฟุตบอลจำนวนมากในต่างประเทศดังกล่าวก็มีหนี้สินท่วมตัวอยู่แล้ว กฎไฟแนนเชียล แฟร์ เพลย์ จึงจำเป็นต้องมีอยู่ดี แต่กว่ากฎนี้จะได้ใช้งานจริง ก็โดนเลื่อนไปในฤดูกาล 2010-11 เพราะ UEFA พบว่ากฎการเงินที่พวกเขาสร้างขึ้นมา แทบเป็นไปไม่ได้ เช่น
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในปี 2010 ที่มีหนี้สะสมถึง 716 ล้านปอนด์ ซึ่งหากกฎFFP ใช้ได้จริง พวกเขาอาจไม่สามารถไปต่อฟุตบอลยุโรปตลอดกาล เพราะถึงแม้สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดจะดูเหมือนมีหนี้สินเยอะ แต่ถ้ามองทรัพย์สินของสโมสรหรือเงินหนุนหลังของทีม พวกเขาไม่มีทางล้มละลาย ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญของกฎFFPที่ถูกตั้งขึ้นมาป้องกันเรื่องเหล่านี้
บทลงโทษของกฎ FFP
ในช่วงแรกเริ่มที่ใช้กฎFFPนั้น มีหลายสโมสรที่ทำผิดกฎอย่างชัดเจน เช่น เชลซี ที่สร้างชื่อเสียงในช่วงปี 2011 ด้วยการประกาศว่าสโมสรขาดทุน 70 ล้านปอนด์ หลังจากนั้นก็มีข่าวว่าเชลซีซื้อตัวนักเตะเฟร์นันโด ตอร์เรส ด้วยค่าตัว 50 ล้านปอนด์ ทำให้เห็นเลยว่าเชลซีใช้เงินบริหารแบบขาดทุนมากกว่ารายรับของทีมอย่างแน่นอน และไม่ใช่เรื่องยากที่UEFAจะเล่นงานเชลซี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เขาไม่ทำอะไรเลย แม้แต่ตรวจสอบการใช้เงินของเชลซี
FFP ได้ถูกนำไปสู่การแบ่งแยกของโลกฟุตบอล เป็นตัวแทนของฝั่งทีมคนรวยอย่างสโมสรเชลซีที่ออกมาโจมตีความไร้สาระของกฎ FFP ด้วยการประกาศว่า “ต่อให้ทีมใช้เงินเยอะแค่ไหน สโมสรไม่มีทางล้มแน่นอน ดังนั้นกฎFFPไร้ประโยชน์สิ้นดี” ขณะเดียวกันสโมสรที่ไม่ได้มีเงินถุงเงินถังอย่าง เอซี มิลานที่ออกมาโจมตีกฎFFP ว่า ”สโมสรฟุตบอลจากอังกฤษใช้เงินเกินรายรับแบบชัดเจนทำไมUEFAถึงนิ่งเฉย ไม่ทำอะไรสักอย่างเดียว แล้วจะมีกฎFFP ไว้ทำไมกัน?”
หลังจากที่โดนด่าจากสโมสรทั่วประเทศ UEFA ก็ได้ออกมาประกาศว่า ฤดูกาล 2011-12 สองฤดูกาลข้างหน้า สโมสรฟุตบอลยุโรปห้ามขาดทุนเกิน 45 ล้านยูโร ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษ ยกเว้นที่เจ้าของสโมสรสามารถใช้หนี้ที่ขาดทุนเกินมาได้ ถึงจะยกเว้นให้เป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ทางUEFAยังต้องการให้สโมสรฟุตบอลแสดงบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่ชัดเจนตรงไปตรงมา มีการใช้เงินอย่างมีเหตุผลและใช้เงินเพื่อผลประโยชน์ของสโมสรเท่านั้น
(ติดตามข่าวสารฟุตบอล โปรแกรมบอล วิเคราะห์บอลและประวัตินักเตะที่คุณไม่เคยทราบ ได้ที่เว็บไซต์ KUBET)
จัดตั้งคณะกรรมการ CFCB
อย่างไรก็ตาม กฎFFP ก็เขียนไว้แบบกว้างๆ ไม่มีข้อความระบุชัดเจนว่า สโมสรจะต้องทำอย่างไร และหากทำผิดกฎสโมสรจะต้องได้รับบทลงโทษหรือไม่ แล้วจะโดนลงโทษอย่างไรบ้าง ไม่เพียงเท่านั้น UEFA ยังตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอย่าง The Club Financial Control Body (CFCB) เพื่อพิจารณาโทษของสโมสรที่ทำผิดกฎ ซึ่งจะโดนลงโทษหรือไม่ก็อยู่ที่ดุลยพินิจของ CFCB รวมถึงการโดนลงโทษก็ขึ้นอยู่กับ CFCB เช่นกัน
มีหลายสโมสรมากมายที่ทำผิดกฎFFP ในช่วงปี 2011-2013 อย่างแมนเชสเตอร์ ซิตี้, เชลซี, ลิเวอร์พูล, เอซี มิลาน, มาลาก้าและปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง แต่สุดท้าย UEFA ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น โดยอ้างว่าต้องให้สโมสรเหล่านี้ปรับพฤติกรรมการใช้เงินของสโมสร
ท้ายที่สุดในฤดูกาล 2013-14 UEFA หวังอย่างจริงจังที่จะใช้กฎการเงินเหล่านี้ ด้วยการประกาศบทลงโทษสองสโมสรยักษ์ใหญ่อย่างแมนเชสเตอร์ ซิตี้และปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง แต่บทลงโทษนั้นคือการปรับเงินของทั้งสองทีม ทีมละ 60 ล้านยูโรเข้ากระเป๋าตนเองแทนที่จะใช้วิธีการแบนซื้อขายนักเตะ หรือควบคุมการใช้จ่ายของทีมอย่างจริงจัง นั่นทำให้แฟนบอลและหลายสโมสรเกิดข้อกังขาในตัวพวกเขา และกล่าวโทษว่าพวกเขาใช้กฎพวกนี้เพื่อหากินกับสโมสร
บทลงโทษที่ไม่สมเหตุสมผล
เมื่อโดนวิพากษ์วิจารณ์ด่าอย่างหนักหน่วง UEFA จึงคิดจะปรับตัวกับกฎFFPอีกครั้ง ด้วยการแบนสโมสรฟุตบอลที่ทำผิดกฎFFP ไม่ให้ไปเล่นฟุตบอลยุโรป อย่างไรก็ตาม UEFA กลับมีผลงานการแบนเพียงหนึ่งสโมสร นั่นคือ เอซี มิลาน ที่แบนไม่ให้ไปเตะยูฟ่า ยูโรปาลีก ในฤดูกาล 2019-20 ที่เหลือก็ถือว่าล้มเหลว
แต่ก็ยังมีบางสโมสรที่พวกเขายังล้มเหลวอยู่ อย่างการสั่งแบนแมนเชสเตอร์ ซิตี้ได้ ในกรณีนี้ UEFA ให้เหตุผลว่า แมนเชสเตอร์ ซิตี้มีความผิด โทษฐานพยายามปกปิดและปรับแต่งบัญชีทางการเงิน ในช่วงปี 2012-2016 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผ่านมา 5-9 ปีที่แล้ว แต่ UEFA กลับลงโทษแมนเชสเตอร์ ซิตี้ในปี 2020 ซึ่งเป็นการลงโทษอย่างไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง เพราะช้ากว่าการลงโทษที่ควรจะเกิดขึ้นจริงๆไปหลายปีทีเดียว
เมื่อเรื่องเข้าสู่ศาลกีฬาโลก จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะถูกกลับคำตัดสิน เนื่องจากศาลมองว่าเหตุผลที่UEFAใช้ลงโทษแมนซิตี้นั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานเกินกว่า 5 ปี ซึ่งเขามองว่านานเกินไปที่จะนำข้ออ้างเหล่านี้มาตัดสินโทษแมนซิตี้ ดังนั้นการที่แมนซิตี้จะมีความผิดจริงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลักฐานของUEFA แต่หากเขาไม่สามารถหากหลักฐานมาได้มากพอเพื่อให้ศาลเห็นชอบว่าแมนซิตี้ทำผิดจริง ทางUEFAจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไปตามระเบียบ
บทสรุป
สุดท้ายนี้ความสำคัญของกฎ FFP คือการใช้กฎของUEFAที่ไม่เคยมีความโปร่งใสมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเลือกลงโทษสโมสร ความผิดที่ใช้ลงโทษ รวมถึงวิธีที่ใช้ลงโทษตามใจของUEFA ผ่านคณะกรรมการ CFCB โดยไม่มีกฎแน่นอนตายตัวอย่างชัดเจน
แต่หากถามว่ากฎ FFP ล้มเหลวจากการทำหน้าที่ของตนเองหรือไม่? คำตอบคือไม่ เพราะยังไงก็ยังสามารถเข้ามาช่วยควบคุมการเงินเกินตัวของสโมสรขนาดเล็กได้อย่าง เฟเนร์บาห์เช่, เบซิคตัส หรือ แทร็บซอนสปอร์ รวมถึงหลายสโมสรในแถบรัสเซีย เอเชีย คาซัคสถานและสโมสรขนาดเล็กในประเทศอังกฤษเช่นกัน ซึ่งสโมสรขนาดเล็กเหล่านี้ไม่ได้มีเงินถุงเงินถังมากมาย แต่พวกเขากลับใช้เงินเกินตัว เพื่อหวังล่าความสำเร็จในโลกฟุตบอลนั่นเอง
สามารถติดตามข่าวสารวงการลูกหนัง ต่อได้ที่เว็บไซต์ KUBET World ให้คุณอัพเดทข่าวสารวงการฟุตบอลแบบเรียลไทม์ โปรแกรมบอล วิเคราะห์บอลแบบจัดเต็ม ประวัตินักเตะที่คุณไม่เคยทราบ พร้อมรับชมถ่ายทอดสดฟุตบอลทุกแมตช์จนจบฤดูกาล เพียงเป็นสมาชิกเคยูเบท ลุ้นเกมเดิมพันสุดมันส์และรับสิทธิประโยชน์อีกมากมาย สมัครเลย!