ทุกคนต่างทราบกันดีว่ากีฬาฟุตบอลเป็นกีฬาที่สวยงามที่ใช้ในการเชื่อมสัมพันธ์เช่นการจัดบอลการกุศล บอลนัดกระชับมิตรหรือแม้แต่ภายในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่วันนี้เรื่องที่ KUBET จะเล่าคือ เป็นเรื่องของสงครามที่มาจากฟุตบอล เรื่องราวจะเป็นอย่างไรไปดูกันครับ
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทหารอังกฤษและทหารเยอรมันหยุดยิงเป็นเวลาหนึ่งวัน เปลี่ยนจากสนามรบเป็นสนามบอล มีการเตะบอลในพื้นที่ลูกรังและสนามบังเกอร์ จากการตั้งป้อมยิงกระสุนหากันเปลี่ยนมาเป็นการตั้งโกลด์ เมื่อไม่นานมานี้มีกรณีที่ดิดิเย่ ดร็อกบาเคยใช้ฟุตบอลเป็นตัวกลางในการหยุดสงครามกลางเมืองระหว่างไอเวอรี่ โคสต์และกบฏภายในประเทศ ตอนนั้นมีการยิงกระสุนจริงตายกันนับร้อย
ทันทีที่ฟุตบอลเริ่มเตะ เสียงเพลงชาติดังขึ้น ต่างฝ่ายต่างร่วมมือกันร้องเพลงชาติและกอดคอเชียร์การแข่งขัน แต่ทว่ามีการแข่งขันฟุตบอลรายการหนึ่ง ที่เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการปะทะกันระหว่างประเทศที่มีคนตายรวมกันหลักพันและสานต่อสงครามภายในประเทศที่มีคนตายหลักหมื่น เรื่องราวเหล่านี้จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลยครับ
ย้อนรอยสงครามฟุตบอลฮอนดูรัสกับเอล ซัลวาดอร์
ทวีปอเมริกากลางเป็นทวีปที่ขึ้นชื่อเรื่องการปกครองด้วยระบบเผด็จการของทหารอย่างมากตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 ที่รับเอกราชคืนจากชาติล่าอาณานิคม ผู้คนในประเทศต่างถูกกดขี่ข่มเหงและตัดภาพมาที่กลุ่มผู้มีอำนาจ โดยพวกเขาใช้เส้นทางเหล่านี้ในการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ที่ไม่มีทางสู้
ในเวลาต่อมายักษ์ใหญ่ของโลกอย่างสหรัฐอเมริกาได้เล็งเห็นถึงการหาผลประโยชน์จากภูมิภาคนี้ โดยบริษัทผลไม้อย่างยูไนเต็ดฟู้ดก็ได้เข้ามาซื้อที่ดินในประเทศต่างๆในอเมริกากลางเพื่อปลูกกล้วยหอมและส่งเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อไป จนทำให้ผลไม้ที่ทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวอย่างกล้วยหอมเป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศภูมิภาคนั้นเลยทีเดียว ทางด้านของประเทศนั้นก็ไม่พลาดที่จะเข้าร่วมการปลูกกล้วยหอมด้วยเช่นกัน
ตั้งแต่ปี 1922 ยูไนเต็ดฟู้ดมีอิทธิพลอย่างมากทางด้านเศรษฐกิจและรัฐบาลของฮอนดูรัส ทั้งอัดฉีดเงินทุนให้เผด็จการ เพื่อให้เผด็จการมีอำนาจต่อไป แลกกับผลประโยชน์ที่ได้รับจากเผด็จการกลุ่มนั้นซึ่งนั่นคือการขายที่ดินให้เป็นที่สำหรับปลูกกล้วยหอม รวมถึงแรงงานชาวฮอนดูรัสในสวนกล้วย ทำให้ความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นแบบทวีคูณ เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าของที่ดินรายใหญ่ รวมถึงทหาร ก็ค่อยๆรวยขึ้น รวมถึงนายทุนชาวมะกันก็มีพื้นที่สำหรับการปลูกกล้วย ส่วนประชาชนหรือลูกจ้างชาวฮอนดูรัสทำอะไรไม่ได้เลย ต้องอดทนกันต่อไป
KUBET การที่จะได้ที่ดินมาในอดีตก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะครับ ขนาดได้มาแล้วยังถูกไล่ ถูกยึดไปก็มี สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงในมุมมองแอดคือการเอื้อผลประโยชน์ให้กับพวกนายทุนอย่างไม่มีวันจบ
เอล ซัลวาดอร์
เอล ซัลวาดอร์ เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบบเผด็จการทหารไม่ต่างจากฮอนดูรัส มีการคอรัปชั่นไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่ต่างกันมากๆคือเอล ซัลวาดอร์เป็นประเทศที่เล็กมากโดยมีพื้นที่เพียง 2140 ตารางกิโลเมตรแต่มีประชากรสูงถึง 3.7 ล้านคน ซึ่งต่างกับฮอนดูรัส ที่มีพื้นที่มากถึง 112,492 ตารางเมตร แต่มีประชากรเพียง 2.6 ล้านคนเท่านั้น
ด้วยความหนาแน่นของประชากร รวมถึงปัญหาคอรัปชั่นต่างๆภายในประเทศ ทำให้ชาวเอล ซัลวาดอร์หลายคน ค่อยๆย้ายถิ่นฐานออกจากประเทศตัวเองแบบผิดกฎหมาย ซึ่งปลายทางคือประเทศฮอนดูรัสนั่นเอง ทั้งมีพื้นที่ทำกิน สามารถทำการเกษตรได้ รวมถึงเศรษฐกิจภายในประเทศก็ดูดีกว่าเอล ซัลวาดอร์บ้านของตัวเอง ทางด้านของฮอนดูรัส จากเดิมที่มีปัญหาเรื่องของนายทุนผลไม้การคอรัปชั่นต่างๆที่มากขึ้นเรื่อยๆ
ในปี 1948 คนในประเทศต่างไม่พอใจและเริ่มผลักดันให้มีการเลือกตั้งและเปลี่ยนระบบการปกครองจากเผด็จการทหารให้เป็นประชาธิปไตย เริ่มร่างนโยบายประชานิยมเพื่อให้คนรากหญ้าที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของฮอนดูรัสเห็นด้วยมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นในเรื่องของสวัสดิการเพื่อที่จะได้หาผู้นำคนใหม่ของประเทศ แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้ถูกใจสหรัฐอเมริกา เพราะทางสหรัฐอเมริกามองว่าหากออกสวัสดิการใหญ่ๆเหล่านี้ อาจส่งผลให้ฮอนดูรัสกลายเป็นคอมมิวนิสต์ในที่สุด อเมริกาจึงหนุนให้เกิดการรัฐประหารขึ้น
เรื่องราวกำลังจะเข้มข้นขึ้น ติดตามได้ต่อในพาร์ทที่สองได้เลยครับ
KUBET – เว็บไซต์ให้คำปรึกษาข่าวฟุตบอล ข้อมูลฟุตบอลอัปเดตแบบเรียลไทม์ ช่วยให้คุณเรียนรู้เกมฟุตบอลล่าสุดและครอบคลุมที่สุด คะแนนฟุตบอล ลีกฟุตบอล สโมสรฟุตบอล และข้อมูลฟุตบอลโลก รวมถึงข้อมูลอื่นๆที่คุณอยากรู้ เช่นประวัติความเป็นมาของสโมสร หรือที่มาที่ไปของโลโก้แต่ละสโมสร โดยไม่ต้องออกจากบ้าน