ต่อจากพาร์ทที่แล้ว หลังจากที่แฟนบอลสาวชาวเอล ซัลวาดอร์รายหนึ่ง ได้จบชีวิตตัวเองลงเนื่องจากรับไม่ได้ในผลการแข่งขันฟุตบอลที่จบลงด้วยพ่ายแพ้ให้กับฮอนดูรัสครั้งนี้ เรื่องราวมันจะนำไปสู่ความรุนแรงขนาดไหน ตามKUBETไปดูกันครับ
หลังการตายของอเมเรีย รัฐบาลเอล ซัลวาดอร์ใช้สิ่งนี้เป็นเครื่องมือในการปั่นให้ชาวเอล ซัลวาดอร์โกรธแค้นและมองชาวฮอนดูรัสเป็นศัตรู มีการถ่ายทอดสดพิธีศพของเธอไปทั่วประเทศ ประธานาธิบดีและนักเตะทีมชาติได้เข้าร่วมงานศพในครั้งนี้ อีกทั้งรัฐบาลเอล ซัลวาดอร์ ได้แต่งตั้งให้เธอเป็นวีรสตรีของชาติ
นัดที่สอง การเจอกันระหว่างฮอนดูรัสและเอล ซัลวาดอร์
หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปเพียงหนึ่งสัปดาห์ วันที่ 15 มิถุนายนในปี 1969 การแข่งขันที่สองก็ได้เกิดขึ้นที่ประเทศเอล ซัลวาดอร์ ค่ำคืนก่อนการแข่งขัน นักเตะฮอนดูรัสถูกกระทำเหมือนที่นักเตะชาวเอล ซัลวาดอร์โดน ไม่ว่าจะการปาหิน การก่อกวนต่างๆ แต่ที่หนักที่สุดคือการปาอุจจาระและปาปัสสาวะใส่ห้องพักนักเตะฮอนดูรัส
ในวันนั้นนักเตะฮอนดูรัสต้องเดินทางเข้าสู่สนามด้วยรถหุ้มเกราะกันกระสุน ภายในสนาม แฟนบอลทั้งสองฝ่ายได้เข้ามารับชมการแข่งขัน แต่แฟนบอลเจ้าบ้านตะโกนด่าฝ่ายตรงข้ามว่า “ไอ้ฆาตกร” ได้มีการเชิญธงชาติขึ้นเสาธงตามปกติ แต่ที่ไม่ปกติคือเอล ซัลวาดอร์ เลือกเอาผ้าขี้ริ้วขึ้นมาแทนธงชาติฮอนดูรัส จากปัจจัยหลายอย่างทั้งการที่ไม่ได้พักผ่อน การเสียสมาธิ รวมถึงความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นจากแฟนบอลเจ้าบ้าน ทำให้ทีมชาติฮอนดูรัส ต้องพ่ายแพ้ให้กับเอล ซัลวาดอร์ไป 0-3
จากผลการแข่งขัน แฟนบอลทีมเยือนแสดงความไม่พอใจและได้เกิดการทะเลาะวิวาทกันในสนามไม่ว่าจะเป็นการกร่นด่า การปาข้าวของ และการสาวหมัดใส่กัน นักเตะต้องนั่งรถกันกระสุนกลับบ้าน
KUBET เหตุการณ์ได้บานปลายและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และดูเหมือนว่าจะไม่จบง่ายๆ ใจคนนี่น่ากลัวจริงๆนะครับ
ทางด้านฮอนดูรัส
หลังจากที่กลับมายังประเทศฮอนดูรัสทุกอย่างเริ่มทวีความรุนแรงและป่าเถื่อนมากขึ้นไปอีก มีการขับไล่ผู้คนชาวเอล ซัลวาดอร์และเผาที่พักอาศัย จนชาวเอล ซัลวาดอร์ต้องพากันหลบหนีออกจากฮอนดูรัส
การแข่งขันสมัยก่อน ทางฟีฟ่ายังไม่มีกฎการนับผลรวมประตู ซึ่งส่งผลให้ทั้งสองประเทศต้องเตะในนัดที่สาม แต่การเตะในนัดที่สามต้องเตะในสนามกลางเท่านั้น และการแข่งขันในนัดที่สาม ถูกจัดขึ้นที่ประเทศเม็กซิโก ในวันที่ 26 มิถุนายน ปี 1969
นัดที่สาม การเจอกันระหว่างฮอนดูรัสและเอล ซัลวาดอร์
เมื่อถึงวันแข่งขันทั้งสองทีมมาด้วยขุนพลที่มีความฟิตเต็มร้อย พร้อมกับลงสนามไปให้แฟนๆ ได้เห็นแล้วว่าใครจะได้เป็นตัวแทนเข้าไปเตะฟุตบอลโลก ในเกมการแข่งขัน 90 นาทีจบด้วยสกอร์ 2-2 แฟนบอลทั้งสองทีมต่างลุ้นอย่างใจจดใจจ่อ และลุ้นกันต่อในช่วงต่อเวลาพิเศษว่าใครจะเป็นผู้ชนะ สุดท้ายเอล ซัลวาดอร์ ได้ประตูชัยไปได้ จบสกอร์ที่3-2 และเขี่ยชาติคู่แข่งตกรอบไปในที่สุด แต่ใครจะรู้ว่าประตูชัยครั้งนี้ได้กลายเป็นตัวจุดสงครามระหว่างสองประเทศให้เกิดขึ้นในอีกไม่ถึงหนึ่งเดือน
สงครามที่กำลังก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ
หลังจบเกม ความรุนแรงระหว่างสองประเทศก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากการไล่เผาบ้านของชาวเอล ซัลวาดอร์ มีการก่อการอาชญากรรม การไล่ฆ่าชาวเอล ซัลวาดอร์ ทำให้รัฐบาลเอล ซัลวาดอร์ทนไม่ไหว เพราะรัฐบาลของฮอนดูรัสได้เพิกเฉยต่อการกระทำของคนในประเทศ
ต่อมาได้มีการประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูต การค้าระหว่างประเทศและตามมาด้วยการนำรถถังของกองทัพมาอยู่บริเวณชายแดน ทุกอย่างเกิดขึ้นภายในสามสัปดาห์หลังจากการแข่งขันนัดสุดท้ายจบลง ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ทุกคนคาดไว้แล้วว่ามันจะเกิดขึ้นแต่ไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะรุนแรงขนาดนี้
ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1969 เอล ซัลวาดอร์ เริ่มสงครามโดยการนำเครื่องบินไปทิ้งระเบิดใส่ฮอนดูรัสบริเวณ สนามบินนานาชาติใกล้เมืองหลวง องค์กรนานาชาติของอเมริกาที่กลัวว่าเหตุการณ์จะบานปลายได้พยายามเข้ามาไกล่เกลี่ยกับเอล ซัลวาดอร์ แต่ว่าสุดท้ายก็ถูกปฏิเสธกลับมา
ในวันที่ 16 กรกฎาคม 1969 ฮอนดูรัสได้ทำการตอบโต้ การโจมตีทางอากาศทิ้งระเบิดที่โรงงานต่างๆของเอล ซัลวาดอร์ ทำให้บริเวณชายหาดมีแต่ควันสีดำที่มาจากเพลิงไหม้ของน้ำมัน แม้จะตอบโต้ด้วยทางอากาศแต่ฮอนดูรัสไม่สามารถต้านทานกองทัพบกของเอล ซัลวาดอร์ได้ เมื่อฮอนดูรัสต้านทานไม่ไหว จึงได้ติดต่อไปที่องค์กรนานาชาติของอเมริกันเพื่อขอให้เข้ามายุติสงครามครั้งนี้
ในวันที่ 18 กรกฎาคม 1969 เวลายาวนานรวมกว่า 100 ชั่วโมง สงครามได้ยุติลงเมื่อรัฐบาลฮอนดูรัสได้การันตีความปลอดภัยของประชากรชาวเอล ซัลวาดอร์ภายในประเทศ อีกทั้งทางองค์กรนานาชาติได้เข้ามากดดันโครงการทางเศรษฐกิจของเอล ซัลวาดอร์ จนต้องถอนกำลังออกไปจากฮอนดูรัส เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมปี 1969
ความเสียหายจากสงครามครั้งนี้
มีผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้กว่า 3000 คน แบ่งเป็นทางฮอนดูรัสราว 2000 คน ซึ่งมาจากประชาชนและทหาร ส่วนตัวต้นเรื่องอย่างอาเรยาโน ถูกเปิดเผยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับยูไนเต็ดฟู้ด และถูกรัฐประหารโดยกองทัพฮอนดูรัส ในปี 1975
ในฝั่งของเอล ซัลวาดอร์ มีผู้เสียชีวิตราว 1000 คน แต่ด้วยปัญหาทางสังคมที่รัฐบาลทหารหมักหมมเอาไว้เหมือนกับดินพอกหางหมูและไม่สามารถแก้ไขได้ส่งผลให้เกิดสงครามการเมืองเพิ่มขึ้นอีก โดยเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1972-1992 มีผู้เสียชีวิตจากสงครามมากถึง 80,000 คน ซึ่งส่วนมากเป็นประชาชนตาดำๆ ที่ได้ตายจากการกระทำของตำรวจและทหารในสงครามครั้งนี้
สุดท้ายทั้งสองประเทศได้หันมาจับมือกันในวันที่ 30 ตุลาคม 1980 ให้ความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้าให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม ทำให้สงครามฟุตบอลในครั้งนี้จบลงอย่างเป็นทางการ ส่วนผลการแข่งขันหลังจากที่เอล ซัลวาดอร์ ผ่านเข้ารอบ พวกเขาก็มีผลงานที่ไม่เอาไหนและพ่ายแพ้ไปในที่สุด
KUBET – เว็บไซต์ให้คำปรึกษาข่าวฟุตบอล ข้อมูลฟุตบอลอัปเดตแบบเรียลไทม์ ช่วยให้คุณเรียนรู้เกมฟุตบอลล่าสุดและครอบคลุมที่สุด คะแนนฟุตบอล ลีกฟุตบอล สโมสรฟุตบอล และข้อมูลฟุตบอลโลก รวมถึงข้อมูลอื่นๆที่คุณอยากรู้ เช่นประวัติความเป็นมาของสโมสร หรือที่มาที่ไปของโลโก้แต่ละสโมสร โดยไม่ต้องออกจากบ้าน