งานเข้าแมนซิตี้แล้วครับ หลังจากที่ตอนนี้ได้อยู่เป็นที่สองของตารางพรีเมียร์ลีก ได้มีชาวเน็ตจับผิดว่าทำไมไม่มีใครจัดการทัพเรือใบสีฟ้าสักที งานนี้เล่นเอาแฟนๆเสียวหลังไปตามๆกัน วันนี้พวกเราKUBET จะพาทุกคนไปไขข้อข้องใจกับเรื่องนี้กันครับ
เอฟเวอร์ตันต้องถูกพรีเมียร์ลีกลงโทษตัดแต้มส่วนน็อตติ้งแฮมฟอเรสต์เป็นอีกทีมที่ต้องรับทราบข้อกล่าวหาว่าพวกเขาทำผิดกฎการเงิน โดยที่ทีมเจ้าป่ากำลังรอฟังผลพิจารณาคดีในเร็วๆนี้ ว่าพวกเขาจะต้องโดนลงโทษตัดแต้มแบบที่ทีมทอฟฟี่สีน้ำเงินโดนหรือไม่ แต่ทางด้านแมนเชสเตอร์ซิตี้ที่โดนพรีเมียร์ลีกประกาศตั้งข้อหามานานกว่าหนึ่งปีเต็ม แม้มีความผิดรวมกันมากถึง 115 กระทง แต่ยังไม่มีสัญญาณใดๆ ว่าจะโดนบทลงโทษอะไรในฤดูกาลนี้เลย
ทีมเรือใบสีฟ้ากำลังลุ้นสร้างประวัติศาสตร์เป็นทีมแรกที่คว้าแชมป์ลีกสูงสุดอังกฤษได้ 4 สมัยติดต่อกัน แถมยังมีลุ้นคว้าทริปเปิ้ลแชมป์ได้สองฤดูกาลซ้อน นั่นทำให้แฟนบอลหลายคนกำลังสงสัยว่าสรุปแล้วพรีเมียร์ลีกได้ใช้กฎการเงินมาตรฐานเดียวกันกับทุกสโมสรจริงหรือเปล่า?
กฎการควบคุมบัญชีการเงินของสโมสร
กฎนี้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกโดยยูฟ่าในปี 2009 ภายใต้ชื่อที่ทุกคนรู้จักกันดีว่า กฎไฟแนลเชียลแฟร์เพลย์ (Financial Fair Play) แนวคิดของกฎนี้คือป้องกันไม่ให้สโมสรใช้จ่ายเกินรายได้ที่มี เพื่อป้องกันไม่ให้สโมสรเล็กๆที่รายได้น้อยเป็นหนี้จนล้มละลาย และป้องกันไม่ให้สโมสรที่มีเจ้าของรวยๆ อัดฉีดงบประมาณตามอำเภอใจ จนกลายเป็นการเอาเปรียบทีมที่อยู่ได้ด้วยผลประกอบการล้วนๆ ปัจจุบันกฎที่ทีมในพรีเมียร์ลีกต้องปฏิบัติตามจะแบ่งออกเป็นกฎของทางพรีเมียร์ลีกและกฎของทางยูฟ่า
KUBET ไปดูกฎของทั้งคู่กันครับ ว่ารายละเอียดและจุดประสงค์หลักของทั้งสองกฎคืออะไร
กฎของพรีเมียร์ลีก
กฎนี้มีชื่อว่ากฎกำไรและความยั่งยืนหรือเรียกสั้นๆว่ากฎ PSR (Profit and Sustainability Rules) หลักการของกฎนี้แต่ละทีมในพรีเมียร์ลีกต้องห้ามขาดทุนเกิน 105 ล้านปอนด์ ในช่วงระยะเวลาสามปี แบ่งเป็นอนุญาตให้ขาดทุนจากผลประกอบการสโมสรไม่เกิน 15 ล้านปอนด์ ส่วนอีก 90 ล้านปอนด์ จะอนุญาตเฉพาะกรณีที่เจ้าของสโมสรสามารถลงทุนเพิ่มเติมให้ได้เท่านั้นและต้องไม่ใช่เงินที่มาจากการกู้ธนาคาร
กฎการเงินของยูฟ่า
ปัจจุบันไม่ได้ใช้ชื่อว่ากฎไฟแนลเชียล แฟร์เพลย์แล้ว แต่เป็นกฎที่ชื่อว่า “กฎความยั่งยืนทางการเงิน” หรือ FSR (Financial-Sustainability Regulation) เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2023 ที่ผ่านมา
หลักการของกฎ FSR แต่ละสโมสรที่ได้สิทธิ์ลงแข่งรายการของยุโรปจะต้องส่งบัญชีให้ยูฟ่าตรวจสอบอย่างโปร่งใสในทุกๆไตรมาส และจะมีการจำกัดเพดานงบประมาณโดยห้ามใช้เงินเกินรายได้ ยูฟ่ากำหนดว่าในฤดูกาล 2023-24 แต่ละสโมสรที่ลงแข่งฟุตบอลยุโรปห้ามใช้งบเกิน 90% ของรายได้ก่อนจะลดเหลือ 80% ในฤดูกาล 2024-25 จากนั้นตั้งแต่ 2025-26 เป็นต้นไปทุกสโมสรต้องห้ามใช้เงินเกิน 70% ของรายได้อย่างเด็ดขาด
เป้าหมายเดียวกันของทั้ง2กฎ
สำหรับเรื่องใช้เงินที่ทั้งพรีเมียร์ลีกและยูฟ่าควบคุม พวกเขาจะเข้มงวดกับค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะในส่วนของค่าตัวนักเตะ ค่าจ้างนักเตะ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทีมงานสตาฟโค้ช และค่าเอเย่นของนักเตะและโค้ชเท่านั้น ในส่วนงบที่ใช้กับสนามแข่ง พัฒนาศูนย์ฝึกซ้อม พัฒนาอะคาเดมี่หรือทีมหญิง จะไม่นำมาคิดรวมในส่วนนี้ขณะที่รายได้จะนับเงินทุกทางที่เข้ามาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ค่าตั๋วเข้าชม รายได้จากสปอนเซอร์ เงินที่ได้จากการขายสินค้าของสโมสรและกำไรที่ได้จากการขายนักเตะไปให้ทีมอื่น
แฮกเกอร์ต้นเรื่อง
มหากาพย์การจับผิดการละเมิดกฎการเงินของแมนเชสเตอร์ซิตี้มันเริ่มต้นโดยชายที่ชื่อว่า รุย ปินโต้ เขาคือแฮกเกอร์ที่ก่อตั้งเว็บไซต์ Football Leaks ขึ้นในปี2015 เขานำข้อมูลเอกสารที่แฮกได้จากสโมสรยักษ์ใหญ่ทั่วยุโรปไปเปิดเผยในเว็บไซต์นั้น แม้ว่าในเวลาต่อมาเขาจะถูกจับข้อหาโจรกรรมข้อมูล ส่วนเว็บไซต์ที่เขาสร้างขึ้นก็จะโดนปิดไป และบรรดานักข่าวก็รีบไปดาวน์โหลดไฟล์เอกสารที่ปินโต้ เคยอัปโหลดเก็บไว้หมดแล้ว
KUBET หลักฐานที่ว่าจะเชื่อถือได้หรือไม่ และน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ต้องรอดูกันครับ
หลักฐานสำคัญ
ในปี 2018 แดร์ สปีเกิล (Der Spiegel) สำนักข่าวของเยอรมนีได้เปิดเผยหลักฐานที่ได้จากเอกสารที่ปินโต้หามา โดยแฉว่าทีมเรือใบสีฟ้าเปิดเผยรายได้จากสปอนเซอร์อย่างไม่โปร่งใส ตัวอย่างหลักฐานสำคัญก็คืออีเมลที่ทางไซมอนเพียร์ส เจ้าหน้าที่บอร์ดบริหารของสโมสรในเครือซิตี้กรุ๊ปได้ตกลงกับผู้บริหารจากบริษัท Aabar Investments ให้จ่ายค่าสปอนเซอร์ให้กับเรือใบสีฟ้าแค่ 3ล้านปอนด์เท่านั้น ทั้งที่ตัวเลขรายได้ที่พวกเขาเปิดเผยคือ 15 ล้านปอนด์
ในอีเมลนั้นมีหลักฐานการพูดคุยที่ระบุว่าส่วนต่างอีก 12 ล้านปอนด์ที่เหลือ จะเป็นคนของเชื้อพระวงศ์จากยูเออีที่จ่ายให้บริษัท Aabar Investments ในภายหลัง และไม่ต้องสงสัยเลยว่าเชื้อพระวงศ์ที่ว่าจะเป็นใครไปได้นอกจากชีค มันซูร์ เจ้าของสโมสรแมนซิตี้นั่นเอง
หลักฐานเด็ดยังไม่มีแค่นั้น แดร์ สปีเกิล ยังแฉอีกว่าเบื้องหลังรายได้สปอนเซอร์ก้อนใหญ่มูลค่า 67.5 ล้านปอนด์ จากสายการบินเอติฮัด แอร์เวย์ ในปี 2005 จริงๆแล้วทางสายการบินจ่ายให้แมนเชสเตอร์ซิตี้เพียง 8 ล้านปอนด์ ขณะที่เงินส่วนต่างอีก 59.5 ล้านปอนด์ คือเงินที่มาจากอาบูดาบียูไนเต็ดกรุ๊ป บริษัทที่มีชีค มันซูร์ เป็นเจ้าของบริษัทอยู่ช่วยรับผิดชอบจ่ายให้
เมื่อสิ่งที่แดร์ สปีเกิลตีแผ่กลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ทำให้ยูฟ่าเริ่มดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างละเอียด ก่อนจะตัดสินใจเอาผิดแมนซิตี้เพราะพบว่าในช่วงระหว่างปี 2012-2016 พวกเขามีเจตนาตกแต่งบัญชีผิดปกติจริงๆ แถมยังไม่ให้ความร่วมมือในการสอบสวนอีกต่างหาก
สู้มาสู้กลับ
ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2020 ยูฟ่าได้ประกาศแบนแมนเชสเตอร์ซิตี้ออกจากการแข่งขันในรายการยุโรปเป็นเวลา 2 ฤดูกาลและปรับเงินอีก 30 ล้านปอนด์ สุดท้ายแมนซิตี้ได้ไปยื่นอุทธรณ์บทลงโทษต่อ CAS หรือศาลกีฬาโลก และรอดพ้นความผิดมาได้ เนื่องจากกฎไฟแนลเชียลเพลย์ของยูฟ่า ตามหลักแล้วจะพิจารณาในขอบเขตเวลาแค่ 5 ปี แต่ช่วงเวลาที่ยูฟ่าระบุว่าแมนซิตี้ทำผิดได้หมดอายุความไปแล้ว ส่วนหลักฐานที่นำมาใช้กล่าวหาพวกเขาก็มาจากการโจรกรรมข้อมูล ซึ่งถือว่าไม่มีน้ำหนักโดยชอบธรรมมากพอที่จะมากล่าวหาโทษแมนซิตี้ได้
สุดท้ายศาลกีฬาโลกตัดสินให้แมนเชสเตอร์ซิตี้โดนลงโทษโดยถูกปรับเงินเป็นจำนวน 10 ล้านยูโร ข้อหาไม่ให้ความร่วมมือในการสอบสวน แต่พวกเขายังได้ลงแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกปกติต่อไป
เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป แมนซิตี้จะโดนลงโทษหรือไม่ ติดตามต่อได้ในพาร์ทที่สองได้เลยครับ
KUBET – เว็บไซต์ให้คำปรึกษาข่าวฟุตบอล ข้อมูลฟุตบอลอัปเดตแบบเรียลไทม์ ช่วยให้คุณเรียนรู้เกมฟุตบอลล่าสุดและครอบคลุมที่สุด คะแนนฟุตบอล ลีกฟุตบอล สโมสรฟุตบอล และข้อมูลฟุตบอลโลก รวมถึงข้อมูลอื่นๆที่คุณอยากรู้ เช่นประวัติความเป็นมาของสโมสร หรือที่มาที่ไปของโลโก้แต่ละสโมสร โดยไม่ต้องออกจากบ้าน