อีกข่าวที่เป็นพูดถึงกันอยู่ต่อเนื่องในตอนนี้ไม่พ้นข่าวของทางสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ที่มีแผนการจะโละ นักเตะ ออกจากทีมถึง10คน งานนี้ทำเอาหลายคนต่างมานั่งประเมินว่า หากสโมสรขายเหล่านักเตะที่ว่านี้ออกจริง พวกเขาจะสามารถทำกำไรได้มากน้อยขนาดไหน
เปิดแผนแมนยูกับการปล่อยนักเตะ เพื่อสร้างกำไรมหาศาล

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด กำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทีม โดยมีแผนที่จะปล่อยนักเตะออกจากทีมถึง 10 ราย เพื่อสร้างรายได้และปรับปรุงทีมใหม่ แผนการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างทีมภายใต้การบริหารจัดการใหม่ และเพื่อปฏิบัติตามกฎการเงินของ Financial Fair Play (FFP)
นักเตะที่คาดว่าจะถูกปล่อยตัวมีทั้งผู้เล่นที่มีประสบการณ์และผู้เล่นดาวรุ่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและสร้างสมดุลทางการเงินให้กับสโมสร รายได้จากการขายนักเตะเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในการเสริมทัพนักเตะใหม่ที่มีคุณภาพ เพื่อให้ทีมกลับมาแข่งขันในระดับสูงสุดได้อีกครั้ง
การตัดสินใจครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในการสร้างทีมที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในระยะยาว แฟนบอลทั่วโลกกำลังจับตามองการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ และหวังว่าทีมรักของพวกเขาจะกลับมาทวงความยิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง
ทัพปีศาจแดงเตรียมโละ นักเตะ ถึง 10 คนในซัมเมอร์นี้ ได้แก่ มาร์คัส แรชฟอร์ด, เจดอน ซานโช่, แอนโทนี่, คาเซมิโร่ และไทเรลล์ มาลาเซีย ที่ต้องการขาย ส่วนนักเตะอีก 5 ราย อย่าง ลุค ชอว์ กำลังตกอยู่ในช่วงพิจารณาว่าจะเอาอย่างไรต่อไป ทางด้านคริสเตียน เอริคเซ่น และวิกตอร์ ลินเดอเลิฟ ที่กำลังหมดสัญญา รวมไปถึงจอนนี่ อีแวนส์ กับทอม ฮีตัน ที่คาดว่าจะโดนรีไทร์ หากขายนักเตะเหล่านี้ออกขึ้นมาจริงๆ สโมสรจะได้กำไรกี่ล้านปอนด์
ปัจจัยสำคัญในการคำนวณกำไรจากการขายนักเตะ


สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจเมื่อขายนักเตะ เงินส่วนนั้นจะเข้ากองคลังของสโมสรเพื่อเอาไปใช้จ่ายหลายๆอย่าง แต่ในตามกฎบัญชีควบคุมการเงินไม่ว่าจะเป็น PSR ของพรีเมียร์ลีก หรือว่า FFP ของยูฟ่า จะมีวิธีการคิดที่ไม่เหมือนกัน หากเป็นการขายเด็กปั้นมันไม่มีต้นทุน คุณขายได้เท่าไหร่ก็ชนะ เป็นกำไรเชิงบัญชี 100 เปอร์เซ็นต์ เช่น มาร์คัส แรชฟอร์ด
แต่หากเป็นนักเตะที่ซื้อมา ทางสโมสรจะต้องเอายอดขายลบกับค่าตกค้างลงบัญชีที่เหลืออยู่ก่อนด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากสโมสรซื้อนักเตะมา 1 คน ราคา 50 ล้านปอนด์ สัญญา 5 ปี คุณจะต้องลงบัญชีค่าตัวนักเตะรายนี้ตามระยะเวลาสัญญา ก็คือเอา5 หารด้วย50 เท่ากับ ลงบัญชีปีละ 10 ล้านปอนด์ และเมื่อใช้งานนักเตะรายนี้ผ่านไป 3 ปี เท่ากับว่าลงบัญชีไปแล้ว 30 ล้านปอนด์ เหลือค่าบัญชีตกค้าง 20 ล้านปอนด์
ดังนั้นเมื่อเราขายนักเตะคนนั้นได้ ถ้าได้ 25 ล้านปอนด์ จะต้องเอา 25-20 จะได้กำไรเชิงบัญชีจริงๆ เพียงแค่ 5 ล้านปอนด์เท่านั้น นี่คือตัวเลขที่ลงในกฎ PSR และ FFP แต่ในเรื่องของกระแสเงินสด จะต้องเข้ากองคลังสโมสร อยู่ที่ว่าจะได้เต็มทันทีหรือสโมสรคู่ค้าจะเป็นการผ่อนจ่าย แต่จะแยกกันชัดเจนว่าระหว่างเงินซื้อ-ขาย กับตัวเลขในบัญชี
มาร์คัส แรชฟอร์ด

แอสตันวิลล่ามีออปชั่นเซ็นสัญญาถาวรกับมาร์คัส แรชฟอร์ด อยู่ที่ 40 ล้านปอนด์ หากพวกเขายอมจ่ายดีลนี้จะคุ้มค่า เพราะทางสโมสรแมนยูจะได้กำไรเข้าบัญชีทันที 40 ล้านปอนด์ เพราะนี่คือนักเตะปั้นของปีศาจแดง ไม่มีต้นทุน แถมทางสโมสรก็ไม่ต้องจ่ายค่าเหนื่อยสัปดาห์ละ 300,000 หลังจากนี้อีกด้วย ประหยัดค่าใช้จ่ายจากค่าเหนื่อยอย่างเดียวปีละ 15.6 ล้านปอนด์เลยทีเดียว
นักเตะ รายอื่นๆจะมีแนวโน้มไปในทิศทางไหน และจะเป็นอย่างไร ติดตามต่อใน EP.2 ได้เลยครับ
ครบจบทุกความบันเทิงในที่เดียว ดูบอลสดทุกแมตช์แบบติดขอบสนาม แทงบอลออนไลน์ลุ้นรางวัลสุดเร้าใจ และเพลิดเพลินกับคาสิโนถูกกฎหมายที่จ่ายจริงไม่มีกั๊ก สมัครสมาชิกใหม่วันนี้ รับโบนัสต้อนรับสุดพิเศษ 1,500 บาท เพียงใส่รหัส DW338